top of page
รูปภาพนักเขียนMindDoJo Thailand

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Carbon Neutrality กับ Net Zero Emission? 🌱♻️

เมื่อหลายองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเริ่มมีทีมที่ดูแลในด้าน Sustainability ขององค์กรโดยเฉพาะ แต่จะทำอย่างไรหากทุก ๆ คนยังไม่ตื่นตัวมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ไม่เพียงเท่านั้นเวลาในการเปลี่ยนแปลงก็น้อยลงเต็มที ดังที่รัฐบาลไทยเคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการสร้าง Carbon Neutrality ในปี 2050 แต่หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าคำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยที่จะต้องประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ไม่ใช่ปี 2065 หรือ ความเป็นจริงแล้วนั้นการบรรลุเป้าหมายนั้นไม่เหมือนกัน ปีที่คาดหวังว่าจะทำให้สำเร็จจึงต้องแตกต่างกัน เพราะในปี 2065 ประเทศไทยจะต้องประสบความสำเร็จในด้าน Net Zero Emission


เมื่อหลายองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเริ่มมีทีมที่ดูแลในด้าน Sustainability ขององค์กรโดยเฉพาะ แต่จะทำอย่างไรหากทุก ๆ คนยังไม่ตื่นตัวมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ไม่เพียงเท่านั้นเวลาในการเปลี่ยนแปลงก็น้อยลงเต็มที ดังที่รัฐบาลไทยเคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการสร้าง Carbon Neutrality ในปี 2050 แต่หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าคำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยที่จะต้องประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ไม่ใช่ปี 2065 หรือ ความเป็นจริงแล้วนั้นการบรรลุเป้าหมายนั้นไม่เหมือนกัน ปีที่คาดหวังว่าจะทำให้สำเร็จจึงต้องแตกต่างกัน เพราะในปี 2065 ประเทศไทยจะต้องประสบความสำเร็จในด้าน Net Zero Emission

หลายคนจึงเริ่มสงสัยว่า Carbon Neutrality และ Net Zero Emission เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับพวกเราที่ทำงานในองค์กร วันนี้ผมจะมาช่วยอธิบายให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นกันดีกว่านะครับ

Carbon Neutrality หรือ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) ที่ปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทจะได้รับการกำจัดออกไปในปริมาณที่เท่านั้น โดยความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเน้นเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้นในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรได้ปล่อยคาร์บอนออกมา เช่น ในการใช้เชื้อเพลิงในสายการผลิต องค์กรจึงจะต้องคำนวณว่าได้ปล่อยคาร์บอนออกไปเท่าใด แล้วจะต้องหาวิธีการชดเชยเพื่อนดูดซับคาร์บอนที่ปล่อยออกไปให้หมด เช่น หากโรงงานผลิตคาร์บอน 100 ตัน ดังนั้นจะต้องปลูกป่าหรือใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อกำจัดคาร์บอนชดเชยทั้ง 100 ตัน แต่หากว่ากิจกรรมที่โรงงานทำกำจัดคาร์บอนได้เพียง 80 ตัน อีก 20 ตันที่เหลือนั้นจะต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) จากโครงการอื่น ๆ เพื่อให้โรงงานของคุณมีการจัดการการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดให้ได้

Carbon Neutrality หรือ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) ที่ปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทจะได้รับการกำจัดออกไปในปริมาณที่เท่านั้น โดยความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเน้นเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้นในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรได้ปล่อยคาร์บอนออกมา เช่น ในการใช้เชื้อเพลิงในสายการผลิต องค์กรจึงจะต้องคำนวณว่าได้ปล่อยคาร์บอนออกไปเท่าใด แล้วจะต้องหาวิธีการชดเชยเพื่อนดูดซับคาร์บอนที่ปล่อยออกไปให้หมด เช่น หากโรงงานผลิตคาร์บอน 100 ตัน ดังนั้นจะต้องปลูกป่าหรือใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อกำจัดคาร์บอนชดเชยทั้ง 100 ตัน แต่หากว่ากิจกรรมที่โรงงานทำกำจัดคาร์บอนได้เพียง 80 ตัน อีก 20 ตันที่เหลือนั้นจะต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) จากโครงการอื่น ๆ เพื่อให้โรงงานของคุณมีการจัดการการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดให้ได้

Net Zero Emission หรือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” คือ การที่ปริมาณการปล่อยเรือนกระจกต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และก๊าซอื่น ๆ อีกมากมายดังนั้น Carbon Neutrality จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Net Zero Emission โดยก๊าซต่าง ๆ นี้ถูกปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท และจะได้รับการกำจัดออกไปในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้นการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คนในองค์กร เพราะทุก ๆ กิจกรรมอาจมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การคัดแยกขยะ การใช้ไฟฟ้าในที่ทำงาน การขับรถเดินทางมาทำงาน กิจกรรมต่าง ๆ ล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายขององค์กรที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุก ๆ กิจกรรมในองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของทุก ๆ คน

Net Zero Emission หรือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” คือ การที่ปริมาณการปล่อยเรือนกระจกต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และก๊าซอื่น ๆ อีกมากมายดังนั้น Carbon Neutrality จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Net Zero Emission โดยก๊าซต่าง ๆ นี้ถูกปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท และจะได้รับการกำจัดออกไปในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้นการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คนในองค์กร เพราะทุก ๆ กิจกรรมอาจมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การคัดแยกขยะ การใช้ไฟฟ้าในที่ทำงาน การขับรถเดินทางมาทำงาน กิจกรรมต่าง ๆ ล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายขององค์กรที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุก ๆ กิจกรรมในองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของทุก ๆ คน

เรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ใช่เรื่องไกลตัวของของทุก ๆ คนอีกต่อไป ทุกคนล้วนส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนในกิจกรรมของทุก ๆ ในองค์กร องค์กรจึงจำเป็นต้องร่วมกันวางแผนพร้อมต่อการเป็นองค์ที่ช่วยเหลือประเทศให้ประสบความสำเร็จใน Carbon Neutrality และ Net Zero Emission


หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเพื่อวางแผนในด้าน Sustainability และหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ Carbon Neutrality และ Net Zero Emission สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม เพื่อพูดคุยถึงรายละเอียดตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการติดต่อเราด้านล่างได้เลย!


Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page