ความสำคัญของการสร้างความผูกพันในองค์กร: กุญแจสู่ความสำเร็จระยะยาว
- MindDoJo Thailand
- 18 มี.ค.
- ยาว 2 นาที

ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและการสร้างความผูกพันในองค์กรมีพนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตและประสบความสำเร็จในระยะยาวความผูกพันของพนักงานกับองค์กรไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของ "ความสุข" ในการทำงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผลงาน และความมั่นคงขององค์กรโดยตรง
วิธีสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร
การสร้าง “ความผูกพันของพนักงานในองค์กร” (Employee Engagement) ต้องอาศัยทั้งกลยุทธ์ที่ดีและการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นี่คือแนวทางที่ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและผูกพันกับองค์กรมากขึ้น
1.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (Build a Positive Organizational Culture)
กำหนด “ค่านิยมและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน” องค์กรที่มี ค่านิยม (Core Values) และ วิสัยทัศน์ (Vision) ที่ชัดเจนจะช่วยให้พนักงานเข้าใจทิศทางขององค์กรและรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า เมื่อพนักงานรู้ว่าองค์กรต้องการไปในทิศทางไหนและมีหลักยึดอะไรในการทำงาน พวกเขาจะรู้สึกมีจุดมุ่งหมายและเกิดความผูกพันมากขึ้น ยกตัวอย่างบริษัท Google มีค่านิยมองค์กรที่ชัดเจน เรื่อง"เน้นที่ผู้ใช้และทุกอย่างจะตามมา (Focus on the user and all else will follow)" ซึ่งช่วยให้พนักงานรู้ว่าพวกเขากำลังสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้จริงๆ
ส่งเสริม “บรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรและเปิดกว้าง” ให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนหนึ่งของทีม เช่น การมีพื้นที่พักผ่อน การทำกิจกรรมทีม
สนับสนุน “Diversity & Inclusion” เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้สึกได้รับการยอมรับในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการปรับความคิดของพนักงานในองค์กรไม่ให้มีอคติต่อกลุ่ม LGBTQ+
2.ให้การสื่อสารที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ (Improve Communication & Transparency)
เปิดโอกาสให้พนักงานได้ “แสดงความคิดเห็น” และรับฟังข้อเสนอแนะอย่างตั้งใจ โดยใช้ช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการประชุมทีม แพลตฟอร์มออนไลน์ และแบบสำรวจความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook มีการประชุมแบบ Q&A กับ CEO (Mark Zuckerberg) เพื่อให้พนักงานสามารถถามคำถามโดยตรงและเข้าใจวิสัยทัศน์ของบริษัท
มีการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับ “เป้าหมายองค์กรและความก้าวหน้า” อย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Bridgewater มีวัฒนธรรมเรื่อง “ความโปร่งใสอย่างสุดขั้ว (Radical Transparency)” ที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางขององค์กรให้พนักงานทุกระดับรับรู้
3.สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาอาชีพ (Provide Career Growth & Development)
เสนอ “โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา” เช่น การฝึกอบรม เทรนนิ่ง การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการให้ทุนการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Amazon มีโครงการ "โครงการเลือกอาชีพ (Career Choice Program)" ที่ให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานที่ต้องการเรียนต่อแม้ว่าจะเป็นสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบัน
สนับสนุน “การเลื่อนตำแหน่งจากภายในองค์กร” เพื่อให้พนักงานเห็นเส้นทางการเติบโต ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Unilever มีโครงการ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders Programme)” ที่ช่วยให้พนักงานที่มีศักยภาพเติบโตเป็นผู้บริหารภายในบริษัท
มี “Mentoring และ Coaching Programs” เพื่อช่วยให้พนักงานพัฒนาทักษะและความมั่นใจเฉพาะด้าน
4.ให้การยอมรับและให้รางวัลอย่างเหมาะสม (Recognize & Reward Employees)
มี “ระบบการให้รางวัลและการยกย่อง” พนักงานที่ทำงานดี ไม่ว่าจะเป็น โบนัส เกียรติบัตร หรือคำชมเชย ยกตัวอย่างเช่น Microsoft มีโปรแกรม “รางวัลและการยอมรับ (Awards & Recognition)” ที่เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมงานสามารถเสนอชื่อพนักงานที่ทำงานดีเพื่อรับรางวัล
ส่งเสริม “วัฒนธรรมการให้ฟีดแบ็กเชิงบวก” ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวขอบคุณหรือการชื่นชมในที่ประชุม
จัดโปรแกรม “รางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน หรือ รางวัลผลงาน” เพื่อเป็นการยกย่องให้แก่พนักงานที่ทำงานดี
5.สร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิต (Support Work-Life Balance)
สนับสนุน “การทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible Work Arrangements)” ไม่ว่าจะเป็น Work from Home หรือ Hybrid Work ยกตัวอย่างเช่น บริษัท HubSpot มีวัฒนธรรม “ไม่มีการประชุมภายในวันศุกร์ (No Internal Meeting Fridays)” เพื่อให้พนักงานมีเวลาทำงานแบบโฟกัสหรือการพักผ่อน
จัด “กิจกรรมเสริมสร้างความสุข” ตัวอย่างเช่น กิจกรรมสันทนาการ ทริปประจำปี หรือ Wellness Program
สนับสนุน “สุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงาน” ผ่านสวัสดิการหรือการให้คำปรึกษา ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Salesforce มีนโยบาย "โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Wellness Programs on Productivity)" โปรแกรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะกับความต้องการของพนักงาน
6.เสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีม (Encourage Teamwork & Collaboration)
จัด “Team Building Activities” เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน
สนับสนุน “การทำงานข้ามแผนก” เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Spotify ใช้แนวคิด "ทีมและแผนก (Squads & Tribes)" ที่ส่งเสริมการทำงานแบบข้ามแผนกให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย
กระตุ้น “การช่วยเหลือและสนับสนุนกันในที่ทำงาน” ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Adobe มีโครงการ “Kickbox” ที่ให้พนักงานทุกคนมีโอกาสพัฒนาไอเดียใหม่ๆ และได้รับทุนสนับสนุนหากไอเดียนั้นดี
7.รับฟังความคิดเห็นและปรับปรุงต่อเนื่อง (Listen & Continuously Improve)
ใช้ “แบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Engagement Survey)” และนำผลมาปรับปรุง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Google มีการใช้ "แบบสำรวจสั้นเพื่อติดตามความคิดเห็น (Pulse Surveys)" ซึ่งเป็นแบบสำรวจประจำปีที่พนักงานสามารถให้ฟีดแบ็กเกี่ยวกับองค์กรได้
เปิดโอกาสให้พนักงาน “มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ” เกี่ยวกับงานและนโยบายองค์กร ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Adobe มีโปรแกรม "ข้อเสนอแนะระหว่างการติดตามผล (Check-In Feedback)" ที่ให้พนักงานและหัวหน้างานสามารถพูดคุยและให้ฟีดแบ็กต่อกันเป็นประจำ
มี “ช่องทางให้พนักงานเสนอไอเดีย” และให้รางวัลกับความคิดสร้างสรรค์
การสร้างความผูกพันของพนักงานต้องอาศัยความพยายามและการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์กรที่สามารถทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการสนับสนุน และมีโอกาสเติบโต จะช่วยให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร มีแรงจูงใจในการทำงานและพร้อมที่จะอยู่กับองค์กรในระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในอนาคต
แหล่งที่มา : your.yale.edu
God like
gfsf